รัชกาลที่ 4

การแต่งกายของสตรีไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(พ.ศ.2394 – พ.ศ.2411 ระยะเวลา 17 ปี)

ในสมัยรัชกาลที่4 เริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการแต่งกายขึ้น เริ่มจากภายในพระราชวังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่เองก็สวมเสื้อแบบฝรั่ง และสวมรองเท้าจำพวกคัทชู  พระบรมศานุวงศ์ พระสนม สวมเสื้อ แต่งกายแบบฝรั่ง มีเครื่องประดับบ่งบอกฐานะการเป็นคนชนชั้นสูง ในส่วนของชาวบ้าน สามัญชนยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงมากนัก แม้แต่คนที่ทำงานในรั้ววังเองก็ตาม
สาเหตุที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นเพราะประเทศตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทบ้างแล้ว ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับความคิดแบบตะวันตกมา ส่งผลให้ท่านอายฝรั่งในเรื่องการแต่งกายของคนไทย สำหรับการเปลี่ยนแปลงเครื่องแต่งกายของผู้หญิงนั้น จากข้อมูลบันทึกที่สามารถจัดหารวบรวมมาได้ทั้งหมดนั้น มีเพียง

เครื่องแต่งกาย




สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
(สมเด็จพระนางเจ้ารำเพยภมราภิรมย์)

ฉายเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2404 หรือก่อนหน้านั้น ทรงแต่งพระองค์แบบโบราณห่มพระภูษาตาด











พระสนมสองคนของพระเจ้าแผ่นดินสยาม

ภาพลายเส้นสมัยรัชกาลที่ 4 กระโปรงแบบฝรั่ง เสื้อแบบฝรั่ง ซึ่งเป็นการแปลกแหวกแนวที่สุด ตีพิมพ์ลงในหนังสือของอังรี มูโอต์ พ.ศ. 2407 ใต้ภาพข้างขวาเขียนว่า “วาดจากภาพถ่ายโดย เอ็มเอช รุสโซ






ทหารหญิงสมัยรัชกาลที่ 4 มีศัพท์เรียกแผลงจิงโจ้” แต่งชุดทหารสก๊อต
ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 4 จากซ้าย เจ้าจอมมารดาเขียน เจ้าจอมมารดา (เป็นท้าววรจันทร ในสมัยรัชกาลที่ 5) เจ้าจอมมารดาสุ่น (เป็นท้าววนิดาพิจาริณี ในสมัยรัชกาลที่ 5)  ทหารหญิง-จิงโจ้ แต่งสก๊อต นับเป็นครั้งแรก เกิดในสมัยรัชกาลที่ 4







ผู้หญิงสามัญชนในสมัยนั้นจะแต่งกายแบบ นุ่งผ้าลายโจงกระเบน นุ่งผ้าจีบ ใส่เสื้อผ่าอก คอตั้งเตี้ย ๆ ปลายแขน แคบยาวถึงข้อมือ เสื้อพอดีตัวยาวเพียงเอว เรียกว่า เสื้อกระบอกแล้วห่มแพรสไบจีบเฉียงบนเสื้อ อีกที (ต่อมาเรียกว่า “แพรสพาย” ในสมัยรัชกาลที่ 5) 





เครื่องประดับ

สตรีที่สูงศักดิ์จะใช้ กระเจียก ทับทรวง ตาด พาหุรัด สะอิ้ง สร้อย สังวาลย์ หุ้มหูเพชร แหวนเพชร ในส่วนของรายละเอียดผู้หญิงสามัญชนไม่สามารถหาข้อมูลได้















ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รัชกาลที่ 1-3

รัชกาลที่ 8

รัชกาลที่ 6