รัชกาลที่ 8

การแต่งกายของสตรีไทยในสมัยรัชกาลที่ 8 
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
 (..2477 –  พ.ศ.2489 ระยะเวลา 12 ปี)

สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในช่วงยุครัฐนิยม โดยมีจอมพลปพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงครามนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำ
ในรัฐนิยมฉบับที่ 10 ลงวันที่ 15 มกราคม พ.. 2484 เรื่อง “เครื่องแต่งกายของประชาชนชาวไทยได้สร้างความเป็นระเบียบในการแต่งกายของคนในชาติ โดยมีการกำหนดเครื่องแต่งกายออกเป็น 3 ประเภท คือ     
1. เครื่องแต่งกายธรรมดา  คือที่ใช้ในชุมชน สาธารณชน
2. เครื่องแต่งกายทำงาน คือแต่งเมื่อประกอบงานหรืออาชีพโดยปกติ
3. เครื่องแต่งกายตามโอกาส ได้แก่แต่งในกาลเทศะที่เหมาะสมเช่น เล่นกีฬาหรือเข้าสังคม
โดยทั่วไปแล้ว รูปแบบการแต่งกายทั้งชายและหญิง สวมหมวก หลังจากรัฐนิยมฉบับที่ 10 ที่กล่าวมาแล้วนัก มีความว่าขอเชิญชวนให้สตรีไทยร่วมมือกันสวมหมวกเป็นการ “สวมหมวกเพื่อการส่งเสริมการสร้างชาติของท่านในสตรีไทยให้เด่นยิ่งขึ้น” รัฐบาลขอเชิญชวนและนัดหมายว่า ในวันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.. 2484 เป็นวันปฐมฤกษ์ที่จะใ่หมวกพร้อมเพรียงกันอีกครั้งหนึ่ง (ก่อนนั้น อาจจะยังมีคนสวมหมวกบ้างไม่สวมบ้าง จึงต้องนัดวันให้อีกนอกจากนี้รัฐบาลก็ได้พยายามแนะนำวิธีการใช้หมวกตามโอกาสต่างๆ การเลือกสรรหมวก การถอดหมวก






เสื้อผ้า
ผู้หญิงจะสวมเสื้อแบบไหนก็ได้แต่ต้องคลุมไหล่ เสื้อที่มีแขน
เลิกใช้ผ้าโจงกระเบน เปลี่ยนเป็นนุ่งผ้าถุง(ในรัฐนิยม กล่าวแต่การนุ่งผ้าถุง ที่จริงกระโปรงก็เป็นอีกขั้นหนึ่งที่เกิดขึ้นแพร่หลายในสมัยนั้นเป็นเครื่องแต่งกายฝ่ายหญิงที่เริ่มนุ่งกันทั่วไป ควบคู่กับการนุ่งผ้าถุง แต่สำหรับชาวบ้านทั่วไปแล้ว นุ่งผ้าถุงมากกว่าเพราะกระโปรงเป็นของแปลกใหม่ และออกจะเป็นเรื่องของชาวกรุงอยู่สักหน่อยจากการสอบถามชาวบ้านหลายจังหวัดในภาคกลางได้รับคำตอบเหมือนกันคือเพิ่งรู้จักผ้าถุงสมัยจอมพลป.พิบูลสงคราม ทั้งสิ้น

การยกเลิกการนุ่งโจงกระเบน ในสมัยจอมพลป.พิบูลสงคราม ถึงแม้ขุนนางหรือข้าราชการเก่าๆจะยังคงนุ่งโจงกระเบนกันอยู่บ้าง อต่ก็นับว่าน้อยมาก บางคนแต่งเมื่อไปงานพิธีกรรมหรือถ่ายรูปเท่านั้น เพราะในข้าราชการก็สวมกางเกงสากลกันหมด ครั้นในปีพ.. 2478 ทางคณะรัฐบาลจึงได้ออกพระราชบัญญัติการแต่งกายของ้าราชการพลเรือโดยให้ข้าราชการเลิกนุ่งผ้าม่วงโดยเด็ดขาด และกำหนดเครื่องแบบการแต่งกายของข้าราชการพลเรือนขึ้นใหม่ดังที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน









การนุ่งผ้าโจงกระเบนในส่วนของชาวบ้าน แถบนอกๆยังมีอยู่บ้างคือที่เป็นคนแก่ๆ หรือไม่ก็พวกเล่นเพลง เล่นละครอันเป็นการจำเป็น นอกนั้นนุ่งผ้าถุงหรือกระโปรงสมัยใหม่กันมากแล้ว

เครื่องประดับ
ใส่ต่างหูและกำไล สวมสร้อยคอ

รองเท้า

สวมรองเท้าสุภาพ มีสวมกันทั่วไปแต่ก็ไม่ถึงกับพร้อมเพียงเพราะปัจจุบันนี้คนที่ยังไม่สวมรองเท้าก็มีอีกมาก 







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รัชกาลที่ 1-3

รัชกาลที่ 6