รัชกาลที่ 1-3

การแต่งกายของสตรีไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 1-3
(พ.ศ.2476 – พ.ศ.2394 ระยะเวลา 115 ปี)

ในด้านการแต่งกายนั้น ปรากฏในเอกสารหลายฉบับว่า คนไทยในสมัยอยุธยาแต่งกายด้วยเสื้อผ้าน้อยชิ้นมากเมื่อเทียบกับชาติอื่น มีชาวตะวันตกหลายคนที่ได้จดบันทึกเรื่องนี้ไว้โดยละเอียด อาทิเช่น ลาลูแบร์ ซึ่งได้พรรณนาไว้อย่างเห็นภาพพจน์ว่า  "ชาวสยามไม่ค่อยจะได้ห้อหุ้มร่างกายให้มิดชิดนัก ชาวสยามไปไหนมาไหนด้วยเท้าเปล่ามิได้สวมหมวก เพื่อที่จะปกปิดสิ่งที่อุจาดเท่านั้น เขาจึงพันเอวและขาอ่อนกระทั่งถึงหัวเข่าไว้ด้วยชิ้นผ้ามีดอกดวง บางครั้งที่ไม่ใช้ผ้าลายเขียนนุ่งก็ใช้ชิ้นผ้าไหมเกลี้ยงๆ บ้างหรือทอที่ริมเป็นลายทอง ลายเงินบ้าง" จากการอ้างอิงของลาลูแบร์เรื่องการแต่งกายในสมัยอยุธยาเมื่อเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ยังคงแต่งแบบสมัยอยุธยาอยู่
การแต่งกายในสมัยรัชกาลที่ ๑-
การแต่งกายผู้หญิง
               นุ่งผ้าจีบ ห่มสไบเฉียงซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากสมัยอยุธยา ชาวบ้านนุ่งผ้าถุงหรือโจงกระเบน สวมเสื้อรัดรูปแขนกระบอก ห่มตะเบงมาน หรือผ้าแถบคาดรัดอก และห่มสไบเฉียงทับ
              การแต่งกายของชาววัง
              รูปแบบการนุ่งผ้าระหว่างชาววังและชาวบ้านไม่น่าจะมีอะไรแตกต่างกันมาก แต่จะมีรายละเอียดบางส่วนคือเนื้อผ้า พวกชาววัง ขุนนาง ชนชั้นสูง มักใช้ผ้าทอเนื้อละเอียดสอดเงินสอดทองหรือผ้าไหมอย่างดี ส่วนชาวบ้านนุ่งผ้าพื้นเมืองพวกผ้าลายเนื้อเรียบๆ ตามหลักฐานรูปจิตรกรรมฝาผนัง พวกขุนนางมักสวมเสื้อคอกลม ผ่ากลาง มีกระดุม มีสาบเสื้อ หรือเป็นเสื้อคอเปิด มีกระดุมจะมีผ้าคาดทับ ส่วนกางเกงจะเป็นแบบขาสามส่วนยาวเพียงครึ่งน่อง
              การแต่งกายของคนสามัญ

              ราษฎรสวนใหญ่ มีอาชีพเป็นเกษตรกร ทำนา ทำสวน ทำไร่การแต่งกายของชายหญิงจึงเอื้ออำนวยต่อการใช้ชีวิตแบบเกษตรกร การแต่งกายจึงมีลักษณะทะมัดทะแมง คือ นุ่งผ้าชิ้นเดียวด้วยวิธีนุ่งถกเขมรเป็นการนุ่งโจงกระเบน แต่ถูกให้สั้นเหนือเข่า เพื่อสะดวกในการออกแรงไม่สวมเสื้อ โพกผ้าที่ศีรษะ ไม่สวมรองเท้า หากอยู่บ้านไม่ทำงานก็นุ่งผ้าลอยชาย หรือนุ่งโสร่งมีผ้าคาดพุงในงานเทศกาลมักนุ่งผ้าโจงกระเบนเป็นผ้าแพรสีต่าง ๆ และห่มผ้าคล้องคอปล่อยชายยาวทั้งสองไว้ด้านหน้า หรือคล้องไหล่ทิ้งชายไว้ด้านหน้า หรือพาดตามไหล่ไว้สตรีชาวบ้านนุ่งผ้าจีบ ห่มสไบ เวลาทำงานห่มตะเบงมาน อยู่บ้านห่มเหน็บหน้าแบบผ้าแถบเวลาออกจากบ้านห่มสไบเฉียง ถ้าเป็นสตรีสาวตัดผมสั้นแบบดอกกระทุ่ม ปล่อยท้ายยาวงอนถึงบ่าผู้ใหญ่ตัดผมปีกแบบโกนท้ายทอยสน





                                         
             



รูปซ้ายมือ : แสดงให้เห้นว่าผมทรงนี้พัฒนามาจากการตัดจุกของเด็กหญิงเมื่อตัดออกผมที่เคยยาวขมวดไว้เป็นจุกบนกระหม่อมก็เหลือสั้น กระจายออกมาเป็นพุ่มบนศีรษะ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3
รูปขวามือ : แสดงให้เห็นว่าสมัยธนบุรีไม่ว่านางในระดับสูงใกล้เจ้านายหรือระดับบ่าวไพร่ทำงานพื้นๆ ล้วนไว้ผมสั้น แต่ยังรักษาเค้าเดิมสมัยอยุธยาคือไรผมที่เป็นวงรอบศีรษะ เหนือหน้าผาก การแต่งกายของหญิงสามัญยังคงใช้ผ้าผืนเดียว ถ้าไม่คาดอกก็ห่มสไบ   ท่อนล่างเป็นโจงกระเบนเพื่อความรัดกุมและคล่องแคล่วน่าเสียดายที่ภาพนี้ไม่ได้แสดงว่านางในสูงศักดิ์ผู้นั่งประคองพานรอรับพระราชกุมารนั้น นุ่งผ้านุ่งหรือว่าโจงกระเบน
 การแต่งกายแบบนี้ยังคงรักษาเป็นประเพณีนิยมต่อมาจนถึงรัชกาลที่ 3 ต่อเนื่องถึงต้นรัชกาลที่ 4    เห็นได้จากพระรูป        พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ากินรี  พระราชธิดาในรัชกาลที่ 3   พระรูปนี้ฉายเมื่อพระชันษามากแล้ว ในรัชกาลที่  4 ทรงห่มสไบแต่ก็มีเสื้อแขนยาวสวมข้างในด้วย มิดชิดเรียบร้อย   ท่อนล่างเป็นโจงกระเบน   ผมตัดสั้นทรงดอกกระทุ่ม





















ความคิดเห็น

  1. Casino games & promotions - DrmCD
    Casino games & promotions. Casino games & promotions. Casino 아산 출장샵 games & promotions. Casino games & promotions. Casino games & promotions. Casino games & promotions. Casino games & promotions. Casino games & promotions. Casino games & promotions. Casino games & promotions. Casino 태백 출장마사지 games & promotions. Casino games & promotions. Casino games & promotions. Casino games & promotions. Casino games & promotions. Casino games & promotions. Casino games & promotions. Casino games & promotions. Casino games & promotions. Casino games 부천 출장안마 & promotions. Casino games & promotions. Casino games & promotions. Casino games & promotions. 통영 출장샵 Casino games & promotions. Casino games & promotions. Casino games & promotions. Casino games 청주 출장안마 & promotions. Casino games & promotions. Casino games & promotions. Casino games & promotions. Casino

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รัชกาลที่ 8

รัชกาลที่ 6