รัชกาลที่ 6


การแต่งกายของสตรีไทยในรัชกาลที่ 6 
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว 
(พ.ศ.2453 –พ.ศ.2468 ระยะเวลา 15 ปี)


ในรัชกาลที่ 6 ตอนต้น ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า ผู้หญิงโดยทั่วไปนุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อระบายลูกไม้ แขนยาวเสมอข้อศอก แต่แขนเสื้อไม่พองเหมือนแบบสมัยรัชกาลที่ ๕ นิยมสะพายแพรพาดไหล่ทับเสื้ออีกทีหนึ่ง ในส่วนของประชาชนธรรมดาจะนุ่งกางเกงผ้าแพรของจีนหรือผ้าม่วง ผ้าพื้นตามกําลังฐานะ สวม เสื้อคอกลมสีขาว (ผ้าบาง) สวมรองเท้าบ้างไม่สวมรองเท้าบ้าง



 




เราอาจจะพอทราบกันดีว่ารัชกาลที่ 6 มีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้าน ซึ่งหนึ่งในด้านที่เปลี่ยนแปลงก็คือเรื่องของการแต่งกายด้วย อาจจะเกิดจากที่ในสมัยนี้มีการติดต่อกับประเทศตะวันตกถึงความเจริญของบ้านเมืองทั่วๆไป เริ่มเป็นสมัยใหม่ขึ้นจึงมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างไปทางตะวันตกมากขึ้น

อาจสามารถอธิบายได้ว่า รัชกาลที่ 6 โปรดให้ผู้หญิงนุ่งแบบใช้ผ้าซิ่น ผ้าซิ่นจะเป็นพวกซิ่นไหม และซิ่นเชิงทอด้วยเส้นเงิน เส้นทอง ทำให้เกิดเสื้อแบบใหม่ๆ สําหรับเข้าชุดกับผ้าซิ่นขึ้น การสะพายแพรไม่เป็นที่นิยมกันต่อไป นอกจากสตรีผู้มีบรรดาศักดิ์จะแต่งกายเต็มยศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ยังคงใช้แพรปักตราจุลจอมเกล้าสะพายอยู่เหมือนเดิม (การสะพายแพรยกเลิกในรัชกาลที่ ๗) ในส่วนของการนุ่งซิ่นสําหรับคนชั้นสูง นิยมนุ่งซิ่นเชิงไหม ใส่เสื้อรัดรูปแบบต่างๆ แขนยาว เกล้าผม สวมรองเท้าส้นสูง




ผ้าที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่สตรีชั้นสูงตั้งแต่ครั้งปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นจะเป็นช่างฝีมือทอผ้าจาก 
“กองทอผ้าสวนหงส์” ในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวสาอัยยิกาเจ้า




และเพื่อให้เข้ากับการนุ่งซิ่นผู้หญิงในสมัยนี้จึงสวมถุงน่องและรองเท้าส้นสูงด้วย แต่ไม่นิยมถุงน่องที่เป็นผ้าโปร่งมีลวดลายหรือปักดิ้นอย่างแต่ก่อน แต่หันไปนิยมถุงน่อง เป็นสีพื้นธรรมดา เพื่อให้เข้ากับสีผ้าซิ่นหรือสีเสื้อแทน

ผ้าคาดศีรษะ

ในสมัยนี้จะนิยมใช้เครื่องประดับคาดที่ศีรษะ ผู้ริเริ่มคือ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี พระวรกัญญาปทาน มีตั้งแต่เป็นผ้าชิ้นเล็กยาวปักดิ้น ผ้าพื้นธรรมดา ทองคําขาวประดับเพชร ไข่มุกสร้อย หลายสาย แล้วแต่ว่าแบบไหนเข้ากับตัวเสื้อ




เครื่องประดับ

นิยมเครื่องประดับที่มาจากตะวันตก เช่น นาฬิกาข้อมือ สร้อยคอเล็ก ห้อยล๊อกเก็ต แทนการห้อยจี้ ซึ่งเป็นเครื่องประดับแบบไทยแต่เดิม






ตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สตรีไทยเลิกนุ่งผ้าจีบ แล้วหันมานุ่งโจงกระเบนเกือบทั้งหมด เสื้อนิยมใช้ผ้าแพร ไหม ผ้าลูกไม้ ในส่วนของการตัดเย็บ ออกแบบ อีกทั้งการแต่งกายของเจ้านายฝ่ายในยังปรับเปลี่ยนตามแบบตะวันตกมากขึ้น คือ เป็นเสื้อคอตั้งสูง แขนลูกไม้ยาวพอง เอวเสื้อบ้างจีบเข้ารูป บ้างก็คาดเข็มขัด กลัดเข็ม แต่สิ่งที่ยังคงเดิมไว้ คือ ยังคงห่มสไบแพรอยู่ สวมถุงเท้ามีลวดลายปักสี และเริ่มสวมรองเท้าส้นสูง


นอกจากนี้แล้ว ในสมัยรัชกาลที่ 5 ถือว่าเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน เนื่องมาจาก การติดต่อกับประเทศตะวันตกที่มากขึ้น ทำให้อารยธรรมตะวันตกเริ่มหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย เกิดการเปลี่ยนแปลงทางขนมประเพณี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ได้เริ่มขึ้นจากในราชสํานักก่อน จากนั้นจึงแพร่หลายออกมาถึงราษฎรต่อไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รัชกาลที่ 1-3

รัชกาลที่ 8